วันศุกร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

อักษรกับพยัญชนะวรรค


           


อักษรพยัญชนะวรรค

           ในศาสตร์ไทยแต่โบราณมีการตั้งชื่อ หรือ ฉายา โดยใช้อักษรที่เป็นพยัญชนะวรรค ที่มีพื้นฐานลึกๆมาจากบาฬีศัพย์ เช่น ก วรรค จ วรรค เป็นต้น ซึ่งมีฐานกร ตามวรรคนั้น เป็นการจัดวรรคให้เหมาะสมในการออกเสียง โหราจารย์ในสมัยก่อน ท่านได้นำหลักพยัญชนะวรรคนั้นมาใส่ไว้ควบคู่กับระบบทักษา เพื่อเป็นจุดในการจะตั้งฉายา หรือตั้งชื่อ ให้เหมาะสมกับดวงชะตาหรือวันเกิด หลีกเลี่ยงกาลกิณี หรืออักษรในวรรคโทษ ดังนั้นครูโหราจารย์ท่านจึงวางพยัญชนะวรรคเอาไว้ตามแผนผัง อักษรทั้งหมดก็มีกำลังตามภูมิที่ตนอยู่ในภูมินั้นๆ เช่น ก = ๒ เป็นต้น แต่พอมาในครั้งหลังๆมา ก็มีการทำให้พิสดารไปอีกว่า จันทร์กำลัง ๑๕ ก็มี แต่ในที่นี้เราใช้แบบฉบับย่อ 
        ตัวอย่างชื่อ สมบัติ   ส = ๖   ม = ๕   บ = ๕     ั  ไม่นับ  ต = ๗  สระ   ิ = ๑  รวมกันทั้งหมด ได้กำลัง ๒๔ 
          จุดสังเกต ในภาษาบาฬี จะไม่มีพวกวรรณยุค เช่น พวกไม้เอก ไม้โท ต่างๆ ดังนั้นจึงไม่ถูกจัดเข้ามาในการตั้งชื่อ ฉายา ในทักษาแผนภูมิเหล่านี้ 

          ถ้าเป็นในวิชาทักษามหายุค เราก็จะเอากำลังทั้งหมดหาร ๘ แล้วได้เศษเท่าไร ก็ไปดูในภูมิกำเนิดดวงชะตาว่าตกอะไร ดี ร้าย บอกตามภูมิแผนทักษา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น