วันอาทิตย์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

วิชาทักษามหายุคศาสตร์คืออะไร



      วิชาทักษามหายุคศาสตร์คือวิชาโหราศาสตร์ระบบจันทรคติแบบโบราณ มีพระคาถา ๔๘ พระคาถา มี ๘ ธาตุ ๘ ทิศ อีกทั้งยังมีทุคตะดวงชาติและทุคตะดวงภพ อันจะเป็นจุดขยายผลเรื่องราวไม่ที่มีขีดจำกัด ความสามารถตอบโจทย์ได้สูง หากมีความเพียร และความพยายาม ในการศึกษาพื้นฐานเบื้องต้น แห่งความหมายของพระคาถาอันเป็นศัพย์ที่เราสามารถเข้าใจได้โดยไม่ยุ่งยากนัก แต่เมื่อรู้ความหมายแล้ว จะมีความสนุกสนานในการวิเคราะห์ชะตา เพราะเนื้อเรื่องต่างๆเป็นไปตามเรือนชะตา และขยายผลโดยดวงชาติและดวงภพ
       ในศาสตร์ทักษามหายุคนี้สามารถกำหนดชัยภูมิของที่อยู่อาศัยได้ ทิศใดที่อยู่แล้วให้คุณหรือโทษ การวางฤกษ์ยาม ในการทำมงคลต่างๆหรือกิจการ 
       ในการผูกดวงถึงแม้พระคาถาจะมีมาก ดูแล้วน่าหวาดกลัว ปวดหัว ในการตั้งดวง แต่วิชาทักษามหายุคนี้ก็มีจุดที่เป็นคู่สมบัติ เข้ามาช่วยความจำ อีกทั้งในสมัยที่อาจารย์ส.สัจจญาณท่านยังมีชีวิตอยู่ ก็ยังมี "ไม้วิเศษ"เพื่อประโยชน์ในการพยากรณ์ดวงที่ย่นย่อลง หากเอาพระคาถาต่างๆมาใส่ภาชนะอย่างใดอย่างหนึ่ง จะเป็นไม้ ลูกเต๋า หรือทำเป็นแบบไพ่พยากรณ์ ก็สามารถนำพระคาถามาใช้พยากรณ์นิมิตกรรมของบุคคลได้อย่างแม่นยำได้อีกอย่างหนึ่งด้วย
  
        ดังนั้นทุกศาสตร์จะเน้นไปที่ความหมายเรือนชะตาและความหมายดาว ทักษามหายุคก็เช่นกัน ถ้ามีความแตกฉานในเรือนชะตา และ แตกฉานในความหมายดาวแล้ว การพยากรณ์ก็จะรื่นไหลไปอย่างดี มีความน่าฟัง ไม่ต้องนั่งเดาสถานการณ์ การจะเป็นบัณฑิตย์ได้ ก็อาศัยธรรม ๔ ประการ คือ สุตตะ จินตะ ปุจฉา ลิขิต 

      สุตตะ คือฟัง เรียน ท่อง สาทยาย ให้มาก
      จินตะ คือ คิด เมื่อเรียน ท่องแล้ว ต้องใคร่ครวญว่าถูกต้องตามความเป็นจริงหรือไม่ ทุกอย่างต้องพิสูจน์ได้ด้วยเหตุ ผล มีหลักของวิชาการเป็นเครื่องรับรอง หากอาศัยความเชื่อ ความศรัทธาอย่างเดียวแล้ว ก็จะกลายเป็นความงมงาย 
     ปุจฉา คือ เมื่อไม่เข้าใจก็ไตร่สวน สอบถามกับท่านผู้รู้ หรือคบหาบัณฑิตย์ เพื่อจะเป็นที่ปรึกษาแก่เราได้
     ลิขิต คือ เมื่อจำไม่หมด ก็จดดีกว่าจำ ต้องหัดเขียน หัดทำการบ้าน ผูกดวง ทำการจดบันทึกเป็นสถิติเอาไว้ 


อันว่าวิชาโหราศาสตร์เหมือนดังว่ากับแผนที่ ธรรมะเปรียบเหมือนหางเสือหรือเข็มทิศที่จะทำให้เรือนั้นแล่นไปถึงจุดหมาย มีความชัดเจน ไม่ไปสู่ทางเสื่อมหรือความหลงไหล งมงาย 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น